วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

การละเมิด


กฎหมายเกี่ยวกับการละเมิด

บุคคลใดได้รับความเสียหายจากการกระทำโดยผิดกฎหมาย มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายไทยได้  ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นสามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้รับความเสียหายและมีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์และดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการพิจารณาของศาล ส่วนใหญ่สิทธิของประชาชนที่จะสามารถเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิด  จะครอบคลุมถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และ มาตรา423
มาตรา 420 บัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี แก่อนามัยก็ดี แก่เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 423 บัญญัติว่า ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้ ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
นอกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ยังมีกฎหมายอื่นที่จะคุ้มครองสิทธิแก่บุคคลที่ถูกกระทำในทางละเมิด เช่น ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติทรัพย์สินทางปัญญา ในการพิจารณาว่าค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

ประมวลกฎหมายแพ่ง


ลักษณะ 5 ระยะเวลา
มาตรา 193/1 การนับระยะเวลาทั้งปวง ให้บังคับตามบทบัญญัติ แห่งลักษณะนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบข้อบังคับ หรือนิติกรรมกำหนดเป็นอย่างอื่น
*หมายเหตุ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ 1 ได้มีการแก้ไขใหม่ เพิ่มเติมบาง มาตรา โดยมี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดังนั้นเวลาดูฎีกาปี พ.ศ. 2500-2535 ให้กลับไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับก่อนแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ส่วนฎีกาปี พ.ศ. 2536-2538 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับปีปัจจุบัน
มาตรา 193/2 การคำนวณระยะเวลา ให้คำนวณเป็นวัน แต่ถ้า กำหนดเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ก็ให้คำนวณตามหน่วยเวลาที่ กำหนดนั้น
*หมายเหตุ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ 1 ได้มีการแก้ไขใหม่ เพิ่มเติมบาง มาตรา โดยมี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดังนั้นเวลาดูฎีกาปี พ.ศ. 2500-2535 ให้กลับไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับก่อนแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ส่วนฎีกาปี พ.ศ. 2536-2538 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับปีปัจจุบัน
มาตรา 193/3 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน ให้เริ่มต้นนับในขณะที่เริ่มการนั้น
ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับวันแรก แห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่ เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี
*หมายเหตุ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ 1 ได้มีการแก้ไขใหม่ เพิ่มเติมบาง มาตรา โดยมี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดังนั้นเวลาดูฎีกาปี พ.ศ. 2500-2535 ให้กลับไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับก่อนแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ส่วนฎีกาปี พ.ศ. 2536-2538 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับปีปัจจุบัน
มาตรา 193/4 ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามที่ได้ กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือ เวลาทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี
*หมายเหตุ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ 1 ได้มีการแก้ไขใหม่ เพิ่มเติมบาง มาตรา โดยมี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดังนั้นเวลาดูฎีกาปี พ.ศ. 2500-2535 ให้กลับไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับก่อนแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ส่วนฎีกาปี พ.ศ. 2536-2538 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับปีปัจจุบัน
มาตรา 193/5 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี ให้ คำนวณตามปีปฎิทิน
ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือน หรือปี ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือนหรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ถ้าในระยะ เวลานับเป็นเดือนหรือปีนั้นไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอา วันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
*หมายเหตุ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ 1 ได้มีการแก้ไขใหม่ เพิ่มเติมบาง มาตรา โดยมี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดังนั้นเวลาดูฎีกาปี พ.ศ. 2500-2535 ให้กลับไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับก่อนแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ส่วนฎีกาปี พ.ศ. 2536-2538 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับปีปัจจุบัน
มาตรา 193/6 ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนด เป็นเดือนและส่วนของเดือน ให้นับจำนวนเดือนเต็มก่อน แล้วจึงนับ จำนวนวันหรือส่วนของเดือนเป็นวัน
ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นส่วนของปี ให้คำนวณส่วนของปีเป็น เดือนก่อนหากมีส่วนของเดือน ให้นับส่วนของเดือนเป็นวัน
การคำนวณส่วนของเดือนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ถือว่า เดือนหนึ่งมีสามสิบวัน
*หมายเหตุ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ 1 ได้มีการแก้ไขใหม่ เพิ่มเติมบาง มาตรา โดยมี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดังนั้นเวลาดูฎีกาปี พ.ศ. 2500-2535 ให้กลับไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับก่อนแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ส่วนฎีกาปี พ.ศ. 2536-2538 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับปีปัจจุบัน
มาตรา 193/7 ถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไปโดยมิได้มีการ กำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป ให้นับวันที่ต่อจาก วันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น
*หมายเหตุ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ 1 ได้มีการแก้ไขใหม่ เพิ่มเติมบาง มาตรา โดยมี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดังนั้นเวลาดูฎีกาปี พ.ศ. 2500-2535 ให้กลับไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับก่อนแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ส่วนฎีกาปี พ.ศ. 2536-2538 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับปีปัจจุบัน
มาตรา 193/8 ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการ ตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
*หมายเหตุ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ 1 ได้มีการแก้ไขใหม่ เพิ่มเติมบาง มาตรา โดยมี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดังนั้นเวลาดูฎีกาปี พ.ศ. 2500-2535 ให้กลับไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับก่อนแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ส่วนฎีกาปี พ.ศ. 2536-2538 ให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับปีปัจจุบัน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
 
 
   ๑. กฎหมาย คืออะไร
ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเ่ทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่้งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ
ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน" ซึ่งมีหลายลักษณะจะได้กล่าวในลำดับต่อไป

     ๒. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอย่างไรบ้าง
กฎหมาย มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แ่ก่
   ๒.๑ ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ได้แก่
    -รัฐสภา ถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง ในการบัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้ กฎหมายที่รงัฐสภาบัญญัติได้แก่ พระราชบัญญัติ
    -รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี บางครั้งในยามบ้านเมืองมีความจำเป็นรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ฉับไว ถ้าหากรอให้รัฐสภาบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติ
ก็จะไม่ทันการณ์ อาจนำความเสียหายมาสู่บ้านเมืองได้ กฎหมายสูงสุด(รัฐธรรมนูญ) จึงให้อำนาจฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐบาลสามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับ
ในยามฉุกเฉิน เราเรียกกฎหมายนี้ว่า "พระราชกำหนด" ในขณะใช้บังคับพระราชกำหนดนั้น ๆ ให้รีบนำพระราชกำหนดนั้นเสนอรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบด้วย
พระราชกำหนดนั้น ก็จะเป็นพระราชบัญญัติ ใช้บังคับได้ต่อไป แต่หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ๆ ก็เป็นอันตกไป คือให้เลิกใช้บังคับต่อไป
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ลงไป ได้โดยที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายชั้นรองดังกล่าวนั้นก็คือ
พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง กฎหมายทั้งสองชนิดนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีฐานะหรือศักดิ์สูงกว่ากฎกระทรวง ทั้งนี้เพราะมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ส่วนกฎกระทรวง ผู้ลงนามประกาศใช้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สรุปว่า กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มี ๓ ชนิด คือพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
    -องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับภายในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทหรือ
กฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า กฎหมายส่วนท้องถิ่น มี ๕ ชนิดด้วยกัน ได้แก่
เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ เทศบาลหนึ่ง ๆ ที่บัญญัติขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับประชาชนในพื้นที่เทศบาลของตนเอง
ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของตน
ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยา บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่่ของเมืองพัทยา อ. บาลละมุง จ. ชลบุรี
   ๒.๒ ต้องเป็นข้อบังคับ ใช้บังคับพลเมือง (บังคับสมาชิกของสังคมนั้น ๆ)
   ๒.๓ ต้องบังคับทั่วไป คือบังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร คำว่าราชอาณาจักร
   ๒.๔ ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม

     ๓. ความสำคัญของกฎหมาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
   ๓.๑ สร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม
   ๓.๒ แก้ไขข้อขัดแย้ัง ในสังคม
จากเหตุผลดังกล่าว กฎหมายจึงถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสังคมให้อยู่รอด ดังคำกล่าวที่ว่า "มีสังคมที่ไหน มีกฎหมายที่นั่น"

     ๔. ที่มาของกฎหมาย หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมาย
การที่มนุษย์มารวมกลุ่มกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ในสังคมกลุ่มนั้นๆ ย่อมจะต้องมีปัญหาขัดแย้งกันขึ้นในบางเรื่อง หรือหลายเรื่อง สังคมจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้กลุ่มคนในสังคมยึดถือปฏิบัติในแนวเดียวกัน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใดในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมนั้นๆ บุคคลนั้นย่อมจะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของสังคมจึงเป็นกฎหมายที่สังคมตั้งขึ้นเพื่อใช้บังคับกับบุคคลในสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งไม่เหมือนกันถ้าเราได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของกฎหมายก็จะพบมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายหลายประการอาทิ เช่น
   ๔.๑. ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ
เป็นผู้ออกกฎ คำสั่งหรือข้อบังคับขึ้นมาใช้กับประชาชนในสังคม หรือในรัฐของตน จนกลายเป็นกฎหมายขึ้นมา แม้บางครั้งบางสังคมผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้น จะมิได้ออกกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับขึ้นมาใช้โดยตรงก็ตาม แต่จากบทบาทอำนาจหน้าที่ของผู้นำทางสังคมที่มี่ส่วนผลักดันให้เกิดมีคำสั่งขึ้นมาใช้บังคับกับประชาชนในปกครอง อย่างนี้ก็ถือว่าผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้นเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายได้เช่นกัน
   ๔.๒. ขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาควบคุมคู่กับสังคม ก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดชนิดของกฎหมายที่เรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณีขึ้น เพราะถ้าธรรมเนียมประเพณีใดที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับยึดถือปฏิบัติกันมา ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดขัดขืน ไม่ประพฤติปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีจะถูกสังคมนั้นลงโทษในรูปแบบต่างๆ เช่น การฆ่า หรือทรมาน หรือกำจัดไปจากสังคมโดยการขับไล่ไสส่ง เป็นต้น
   ๔.๓. ความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ
ก็เป็นมูลเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมีกฎหมายขึ้นมา ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำสังคมในสมัยโบราณหรือในสมัยประวัติศาสตร์มีการออกคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ โดยอ้างว่าเป็นคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า การอ้างเอาสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาใช้เป็นเครื่องมือ ก็ย่อมได้รับการเชื่อฟังและปฏิบัติตามจากประชาชนด้วยดี ดังจะเห็นได้ว่าในยุโรปสมัยกลาง สันตะปาปา หรือผู้นำของศาสนาจึงมักแอบอ้างว่าคำสั่งนั้นเป็นเทวบัญชา หรือคำบัญชาของพระเจ้าเสมอ
   ๔.๔. ความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม
เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาเพราะทุกครั้งเมื่อสังคมวุ่นวาย คนในสังคมไม่รับความยุติธรรม ย่อมจะต้องมีการตัดสินคดีความต่างๆ และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินที่มีใจเป็นธรรมย่อมจะต้องนึกถึงความยุติธรรมที่บุคคลในสังคมจะพึงได้รับก่อนเสมอ ซึ่งในเรื่องของความยุติธรรมนั้น ถ้าพบว่ากฎหมายในตอนใดเรื่องใดยังบกพร่อง ผู้มีอำนาจในการตัดสินความนั้นย่อมใช้ดุลยพินิจปรับให้ถูกต้องตามแบบแผนของกฎหมาย หรือกฎธรรมชาติให้มากที่สุด การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมดังกล่าวนี้ย่อมเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในสังคมได้เสมอ
   ๔.๕. ความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย
เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาได้เช่นกัน เพราะกฎหมายที่ออกมาแม้จะละเอียดถี่ถ้วนสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจจะใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่ในทุกแห่งได้ ประกอบกับกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย และผู้มีอำนาจก็ยึดนโยบายและแนวปฏิบัติแตกต่างกันไป ทำให้กฎหมายมีช่องว่างจนเป็นเหตุให้นักวิชาการทางกฎหมายได้เขียนบทความชี้แนะช่องโหว่ หรือข้อบกพร่องของกฎหมายนั้น จนมีผลทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเวลาที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดเห็นต่างๆ ของนักวิชาการทางกฎหมายก็มีส่วนทำให้เกิดกฎหมายใหม่ที่ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น
   ๔.๖. คำพิพากษาของศาลในบางประเทศ
เช่น อังกฤษ ถือว่าคำพิจารณาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย เพราะศาลอังกฤษใช้กฎหมายจารีตประเพณีเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดี โดยถือเอาผลของการตัดสินใจที่แล้วมาในคดีชนิดเดียวกันเป็นหลักในการตัดสินใจ แม้จะต่างวาระต่างคู่กรณีกันก็ตาม โทษของคดีที่เกิดขึ้นภายหลังย่อมได้รับเท่ากันกับคดีที่เกิดขึ้นก่อน แม้ว่าต่อมาเมื่อตรากฎหมายขึ้นก็ได้ยึดเอาคำพิพากษาของศาลที่ได้พิจารณาไว้แล้วเป็นเป็นหลักกฎหมายสืบต่อมา
สำหรับประเทศไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร มิได้ยึดถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย แต่จะยึดเอาคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงส่วนประกอบ หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดที่มาของกฎหมายเท่านั้น

ที่มาของกฎหมายพอสรุปได้ ดังนี้
   ๔.๑ มาจาก ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ
   ๔.๒ มาจากจารีตประเพณี
   ๔.๓ มาจากความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ
   ๔.๔ มาจากความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม
   ๔.๕ มาจากความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย
   ๔.๖ มาจากคำพิำพากษาของศาล
     ๕. การจัดทำกฎหมาย
การจัดทำกฎหมาย หรือกระบวนการหรือขั้นตอนในการบัญญัติกฎหมาย โดยทั่วไปจะมี ๓ ขั้นตอน คือ
   ๕.๑ ขั้นตอนการเสนอร่างกฎหมาย นั่นคือก่อนที่จะมีกฎหมายตัวจริงออกมาบังคับใช้ จะต้องมีกฎหมายฉบับร่างหรือร่างกฎหมายเสียก่อน ซึ่งร่างกฎหมายก็มี
การเรียกกันไปตามชนิดของกฎหมาย เช่นร่างรัฐธรรมนูญ ก็คือรัฐธรรมนูญฉบับร่าง ร่างพระราชบัญญัติ ก็คือพระราชบัญญัติฉบับร่าง คราวนี้องค์กรหรือบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคลใดบ้างเป็นผู้มีอำนาจในจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายแม่บทกำหนดเอาำไว้ ยกตัวอย่างเช่นรัฐธรรมนูญกำหนดให้
บุคคลผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และประชาชนจำนวนห้าหมื่นคน เป็นต้น
   ๕.๒ ขั้นพิจารณาร่างกฎหมาย การพิจารณาร่างกฎหมาย โดยทั่วไปมีตามวาระหรือ ๓ ขั้นตอน ได้แก่
    - วาระรับหลักการ คือขั้นที่พิจารณาความเหมาะสมว่าเหมาะสมที่จะใช้บังคับกฎหมายนั้นหรือไม่ ถ้าองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเห็นว่าเหมาะสม
ก็ถือว่าร่างกฎหมายได้ผ่านการพิจารณาในวาระหรือขั้นตอนที่ ๑
    - วาระการยกร่างกฎหมายและการพิจารณารายละเอียดข้อกฎหมายเป็นรายมาตรา ขั้นตอนนี้ก็คือการนำร่างกฎหมายที่ผ่านวาระที่ ๑ แล้วมอบให้กับคณะบุคคล
ที่มีความรู้ด้านนั้น ๆ ไปตกแต่งข้อความถ้อยคำ เรียกว่า การนำร่างกฎหมายไปยกร่าง หลังจากตกแต่งหรือยกร่างเสร็จ ก็ให้เสนอเพื่อให้องค์กรที่ทำหน้าที่
พิจารณา ได้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พิจารณารายละเอียดไปทีละมาตราหรือทีละข้อ จนจบสิ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำข้อความในที่ประชุมนี้
ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของกฎหมายแม่บทที่กำหนดไว้ว่า ใครมีสิทธิจะขออภิปรายขอแก้ไข อย่างไร
    - วาระสุดท้าย ก็คือการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายทั้งฉบับ ถ้าสมาชิกสภาหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาส่วนใหญ่เห็นชอบ ก็นำไป
ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ถ้าหากส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบ ให้ถือว่าร่างกฎหมายนั้นตกไป จะนำไปใช้บังคับกับประชาชนไม่ได้
ข้อสังเกต...องค์กรหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ก็คือสมาชิกสภานั้น ๆ เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ก็คือสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรนั่นเอง
   ๕.๓ วาระการประกาศใช้กฎหมาย เมื่อกฎหมายผ่านการลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ แล้ว ก็ให้นำกฎหมายนั้นไปประกาศ กฎหมายโดยทั่วไปให้ประกาศลงในราชกิจจา
นุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ สำหรับกฎหมายระดับท้องถิ่นให้ติดประกาศไว้ ณ ที่ทำการของส่วนการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ จนเวลาผ่านพ้นตามที่กฎหมาย
แม่บทกำหนด กฎหมายดังกล่าวก็จะมีผลบังคับใช้ ยกเว้นเฉพาะข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จะต้องประกาศลงในกรุงเทพกิจจานุเบกษา และต้องประกาศลงใน
ราชกิจจานุเบกษาด้วย จึงจะมีผลบังคับใช้ได้
สำหรับความยากง่ายในการบัญญัติกฎหมายย่อมขึ้นอยู่กับชนิดและชั้นหรือศักดิ์แห่งกฎหมายที่จะบัญญัติ ถ้าเป็นการออกหรือบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญ ย่อมมีความ
ยุ่งยาก และใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่ากฎหมายอื่น ๆ ที่ีมีศักดิ์ต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในลำดับชั้นสูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท หรือกฎหมาย
หลักของกฎหมายอื่น ๆ สำหรับการออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ย่อมมีความยุ่งยากน้อยลงไปตามลำดับชั้นของกฎหมาย
การอุดช่องว่างของกฎหมายการอุดช่องว่างของกฎหมาย มี 2 วิธี
   ๑.ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ทั่วไป
   ๒.มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดหลักเกณฑ์ให้นำประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ถ้ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้
ตามพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย กำหนดให้ใช้กฎหมายทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอุดช่องว่าง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์ว่าถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะแยกมาปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามครรลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายนั้นก็ไม้มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

การตีความ การตีความมี 2 กรณีหลักการตีความในกฎหมายทั่วไป
ตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรนั้น
ตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบความหมายของถ้อยคำ ในบทกฎหมายจากเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้น

หลักการตีความ ในกฎหมายพิเศษ

ต้องตีความตัวอักษรโดยเคร่งครัด
ห้ามขยายความให้เป็นโทษ
ต้องตีความให้ผลดีแก่ผู้ต้องหา

การใช้กฎหมาย
กฎหมายใช้กับใคร
ใช้กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้น
กฎหมายใช้ที่ไหน
ใช้ในราชอาณาจักร
ราชอาณาจักร ได้แก่
   ๑. ส่วนของประเทศที่เป็นพื้นดิน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บาง
   ๒. ส่วนของทะเลอันเป็นอ่าวไทย และส่วนที่ห่างออกจากชายฝั่ง ๒๐๐ ไมล์ทะเล
   ๓. พื้นอากาศ เหนือ ข้อ ๑ และ ๒
สำหรับการกระทำความผิดบนอากาศยานไทย และเรือไทย ไม่่ว่าจะอยู่ที่ไหน ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักรไทย และจะถูกลงโทษโดย กฎหมายไทย
กฎหมายใช้เมื่อไร
ใช้ตั้งแต่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ การกำหนดให้กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น ก็จะมีหลายลักษณะ เช่น
   ๑. บังคับใช้ทันทีในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
   ๒. มีผลบังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
   ๓. มีผลบังคับเมื่อพ้นระยะเวลา ที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วันแล้ว จึงมีผลบังคับใช้ โดยทั่วไปจะเป็นกฎหมายที่ต้องการให้
เ้จ้าหน้าที่ และประชาชน ได้เตรียมตัวเพื่ออยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัย ต้องให้เวลา
เพื่อบริษัทสามารถผลิต และประชาชน จะได้ซื้อหาหมวกให้ได้ทั่วถึงเสียก่อน จึงจะบังคับใช้กฎหมาย
การยกเลิกกฎหมายโดยทั่วไปการยกเลิกกฎหมาย จะมี 2 ลักษณะ คือ
   1. ยกเลิกโดยตรง
   2. ยกเลิกโดยปริยาย
การยกเลิกโดยตรง คือ การระบุยกเลิกกฎหมายนั้น ๆ ไว้ในกฎหมายฉบับที่ออกมาใช้บังคับใหม่ เป็นลักษณะการออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายเก่านั่นเอง
ส่วนการยกเลิกโดยปริยาย คือ การที่กฎหมายฉบับนั้น ๆ เลิกบังคับใช้ไปเอง โดยที่ไม่ต้องมีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา ระบุหรือบัญญัติให้ยกเลิกแต่ประการใด
นั่นคือ กฎหมายฉบับดังกล่าว อาจมีกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้เอาไว้ในตัวมันเอง ดังนั้นเมื่อหมดระยะเวลาตามที่ระบุ ก็ถือว่ากฎหมายถูกยกเลิกไปเองโดยป ริยาย

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือ

. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์  รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้
  1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
               1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)
               1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
               ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
    1) กระทรวง ทบวง กรม
                    2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
                    3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
                    4) บริษัทจำกัด


กฎหมายพาณิชย์  คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น            

ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก            

เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย

                 


ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเ่ทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่้งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ
ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน" ซึ่งมีหลายลักษณะจะได้กล่าวในลำดับต่อไป

     ๒. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอย่างไรบ้าง
กฎหมาย มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แ่ก่
   ๒.๑ ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ได้แก่
    -รัฐสภา ถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง ในการบัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้ กฎหมายที่รงัฐสภาบัญญัติได้แก่ พระราชบัญญัติ
    -รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี บางครั้งในยามบ้านเมืองมีความจำเป็นรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ฉับไว ถ้าหากรอให้รัฐสภาบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติ
ก็จะไม่ทันการณ์ อาจนำความเสียหายมาสู่บ้านเมืองได้ กฎหมายสูงสุด(รัฐธรรมนูญ) จึงให้อำนาจฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐบาลสามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับ
ในยามฉุกเฉิน เราเรียกกฎหมายนี้ว่า "พระราชกำหนด" ในขณะใช้บังคับพระราชกำหนดนั้น ๆ ให้รีบนำพระราชกำหนดนั้นเสนอรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบด้วย
พระราชกำหนดนั้น ก็จะเป็นพระราชบัญญัติ ใช้บังคับได้ต่อไป แต่หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ๆ ก็เป็นอันตกไป คือให้เลิกใช้บังคับต่อไป
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ลงไป ได้โดยที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายชั้นรองดังกล่าวนั้นก็คือ
พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง กฎหมายทั้งสองชนิดนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีฐานะหรือศักดิ์สูงกว่ากฎกระทรวง ทั้งนี้เพราะมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ส่วนกฎกระทรวง ผู้ลงนามประกาศใช้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สรุปว่า กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มี ๓ ชนิด คือพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
    -องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับภายในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทหรือ
กฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า กฎหมายส่วนท้องถิ่น มี ๕ ชนิดด้วยกัน ได้แก่
เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ เทศบาลหนึ่ง ๆ ที่บัญญัติขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับประชาชนในพื้นที่เทศบาลของตนเอง
ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของตน
ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยา บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่่ของเมืองพัทยา อ. บาลละมุง จ. ชลบุรี
   ๒.๒ ต้องเป็นข้อบังคับ ใช้บังคับพลเมือง (บังคับสมาชิกของสังคมนั้น ๆ)
   ๒.๓ ต้องบังคับทั่วไป คือบังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร คำว่าราชอาณาจักร
   ๒.๔ ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม

     ๓. ความสำคัญของกฎหมาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
   ๓.๑ สร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม
   ๓.๒ แก้ไขข้อขัดแย้ัง ในสังคม
จากเหตุผลดังกล่าว กฎหมายจึงถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสังคมให้อยู่รอด ดังคำกล่าวที่ว่า "มีสังคมที่ไหน มีกฎหมายที่นั่น"

     ๔. ที่มาของกฎหมาย หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมาย
การที่มนุษย์มารวมกลุ่มกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ในสังคมกลุ่มนั้นๆ ย่อมจะต้องมีปัญหาขัดแย้งกันขึ้นในบางเรื่อง หรือหลายเรื่อง สังคมจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้กลุ่มคนในสังคมยึดถือปฏิบัติในแนวเดียวกัน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใดในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมนั้นๆ บุคคลนั้นย่อมจะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของสังคมจึงเป็นกฎหมายที่สังคมตั้งขึ้นเพื่อใช้บังคับกับบุคคลในสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งไม่เหมือนกันถ้าเราได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของกฎหมายก็จะพบมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายหลายประการอาทิ เช่น
   ๔.๑. ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ
เป็นผู้ออกกฎ คำสั่งหรือข้อบังคับขึ้นมาใช้กับประชาชนในสังคม หรือในรัฐของตน จนกลายเป็นกฎหมายขึ้นมา แม้บางครั้งบางสังคมผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้น จะมิได้ออกกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับขึ้นมาใช้โดยตรงก็ตาม แต่จากบทบาทอำนาจหน้าที่ของผู้นำทางสังคมที่มี่ส่วนผลักดันให้เกิดมีคำสั่งขึ้นมาใช้บังคับกับประชาชนในปกครอง อย่างนี้ก็ถือว่าผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้นเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายได้เช่นกัน
   ๔.๒. ขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาควบคุมคู่กับสังคม ก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดชนิดของกฎหมายที่เรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณีขึ้น เพราะถ้าธรรมเนียมประเพณีใดที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับยึดถือปฏิบัติกันมา ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดขัดขืน ไม่ประพฤติปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีจะถูกสังคมนั้นลงโทษในรูปแบบต่างๆ เช่น การฆ่า หรือทรมาน หรือกำจัดไปจากสังคมโดยการขับไล่ไสส่ง เป็นต้น
   ๔.๓. ความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ
ก็เป็นมูลเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมีกฎหมายขึ้นมา ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำสังคมในสมัยโบราณหรือในสมัยประวัติศาสตร์มีการออกคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ โดยอ้างว่าเป็นคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า การอ้างเอาสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาใช้เป็นเครื่องมือ ก็ย่อมได้รับการเชื่อฟังและปฏิบัติตามจากประชาชนด้วยดี ดังจะเห็นได้ว่าในยุโรปสมัยกลาง สันตะปาปา หรือผู้นำของศาสนาจึงมักแอบอ้างว่าคำสั่งนั้นเป็นเทวบัญชา หรือคำบัญชาของพระเจ้าเสมอ
   ๔.๔. ความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม
เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาเพราะทุกครั้งเมื่อสังคมวุ่นวาย คนในสังคมไม่รับความยุติธรรม ย่อมจะต้องมีการตัดสินคดีความต่างๆ และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินที่มีใจเป็นธรรมย่อมจะต้องนึกถึงความยุติธรรมที่บุคคลในสังคมจะพึงได้รับก่อนเสมอ ซึ่งในเรื่องของความยุติธรรมนั้น ถ้าพบว่ากฎหมายในตอนใดเรื่องใดยังบกพร่อง ผู้มีอำนาจในการตัดสินความนั้นย่อมใช้ดุลยพินิจปรับให้ถูกต้องตามแบบแผนของกฎหมาย หรือกฎธรรมชาติให้มากที่สุด การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมดังกล่าวนี้ย่อมเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในสังคมได้เสมอ
   ๔.๕. ความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย
เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาได้เช่นกัน เพราะกฎหมายที่ออกมาแม้จะละเอียดถี่ถ้วนสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจจะใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่ในทุกแห่งได้ ประกอบกับกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย และผู้มีอำนาจก็ยึดนโยบายและแนวปฏิบัติแตกต่างกันไป ทำให้กฎหมายมีช่องว่างจนเป็นเหตุให้นักวิชาการทางกฎหมายได้เขียนบทความชี้แนะช่องโหว่ หรือข้อบกพร่องของกฎหมายนั้น จนมีผลทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเวลาที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดเห็นต่างๆ ของนักวิชาการทางกฎหมายก็มีส่วนทำให้เกิดกฎหมายใหม่ที่ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น
   ๔.๖. คำพิพากษาของศาลในบางประเทศ
เช่น อังกฤษ ถือว่าคำพิจารณาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย เพราะศาลอังกฤษใช้กฎหมายจารีตประเพณีเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดี โดยถือเอาผลของการตัดสินใจที่แล้วมาในคดีชนิดเดียวกันเป็นหลักในการตัดสินใจ แม้จะต่างวาระต่างคู่กรณีกันก็ตาม โทษของคดีที่เกิดขึ้นภายหลังย่อมได้รับเท่ากันกับคดีที่เกิดขึ้นก่อน แม้ว่าต่อมาเมื่อตรากฎหมายขึ้นก็ได้ยึดเอาคำพิพากษาของศาลที่ได้พิจารณาไว้แล้วเป็นเป็นหลักกฎหมายสืบต่อมา
สำหรับประเทศไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร มิได้ยึดถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย แต่จะยึดเอาคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงส่วนประกอบ หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดที่มาของกฎหมายเท่านั้น

ที่มาของกฎหมายพอสรุปได้ ดังนี้
   ๔.๑ มาจาก ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ
   ๔.๒ มาจากจารีตประเพณี
   ๔.๓ มาจากความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ
   ๔.๔ มาจากความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม
   ๔.๕ มาจากความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย
   ๔.๖ มาจากคำพิำพากษาของศาล
     ๕. การจัดทำกฎหมาย
การจัดทำกฎหมาย หรือกระบวนการหรือขั้นตอนในการบัญญัติกฎหมาย โดยทั่วไปจะมี ๓ ขั้นตอน คือ
   ๕.๑ ขั้นตอนการเสนอร่างกฎหมาย นั่นคือก่อนที่จะมีกฎหมายตัวจริงออกมาบังคับใช้ จะต้องมีกฎหมายฉบับร่างหรือร่างกฎหมายเสียก่อน ซึ่งร่างกฎหมายก็มี
การเรียกกันไปตามชนิดของกฎหมาย เช่นร่างรัฐธรรมนูญ ก็คือรัฐธรรมนูญฉบับร่าง ร่างพระราชบัญญัติ ก็คือพระราชบัญญัติฉบับร่าง คราวนี้องค์กรหรือบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคลใดบ้างเป็นผู้มีอำนาจในจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายแม่บทกำหนดเอาำไว้ ยกตัวอย่างเช่นรัฐธรรมนูญกำหนดให้
บุคคลผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และประชาชนจำนวนห้าหมื่นคน เป็นต้น
   ๕.๒ ขั้นพิจารณาร่างกฎหมาย การพิจารณาร่างกฎหมาย โดยทั่วไปมีตามวาระหรือ ๓ ขั้นตอน ได้แก่
    - วาระรับหลักการ คือขั้นที่พิจารณาความเหมาะสมว่าเหมาะสมที่จะใช้บังคับกฎหมายนั้นหรือไม่ ถ้าองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเห็นว่าเหมาะสม
ก็ถือว่าร่างกฎหมายได้ผ่านการพิจารณาในวาระหรือขั้นตอนที่ ๑
    - วาระการยกร่างกฎหมายและการพิจารณารายละเอียดข้อกฎหมายเป็นรายมาตรา ขั้นตอนนี้ก็คือการนำร่างกฎหมายที่ผ่านวาระที่ ๑ แล้วมอบให้กับคณะบุคคล
ที่มีความรู้ด้านนั้น ๆ ไปตกแต่งข้อความถ้อยคำ เรียกว่า การนำร่างกฎหมายไปยกร่าง หลังจากตกแต่งหรือยกร่างเสร็จ ก็ให้เสนอเพื่อให้องค์กรที่ทำหน้าที่
พิจารณา ได้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พิจารณารายละเอียดไปทีละมาตราหรือทีละข้อ จนจบสิ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำข้อความในที่ประชุมนี้
ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของกฎหมายแม่บทที่กำหนดไว้ว่า ใครมีสิทธิจะขออภิปรายขอแก้ไข อย่างไร
    - วาระสุดท้าย ก็คือการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายทั้งฉบับ ถ้าสมาชิกสภาหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาส่วนใหญ่เห็นชอบ ก็นำไป
ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ถ้าหากส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบ ให้ถือว่าร่างกฎหมายนั้นตกไป จะนำไปใช้บังคับกับประชาชนไม่ได้
ข้อสังเกต...องค์กรหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ก็คือสมาชิกสภานั้น ๆ เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ก็คือสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรนั่นเอง
   ๕.๓ วาระการประกาศใช้กฎหมาย เมื่อกฎหมายผ่านการลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ แล้ว ก็ให้นำกฎหมายนั้นไปประกาศ กฎหมายโดยทั่วไปให้ประกาศลงในราชกิจจา
นุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ สำหรับกฎหมายระดับท้องถิ่นให้ติดประกาศไว้ ณ ที่ทำการของส่วนการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ จนเวลาผ่านพ้นตามที่กฎหมาย
แม่บทกำหนด กฎหมายดังกล่าวก็จะมีผลบังคับใช้ ยกเว้นเฉพาะข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จะต้องประกาศลงในกรุงเทพกิจจานุเบกษา และต้องประกาศลงใน
ราชกิจจานุเบกษาด้วย จึงจะมีผลบังคับใช้ได้
สำหรับความยากง่ายในการบัญญัติกฎหมายย่อมขึ้นอยู่กับชนิดและชั้นหรือศักดิ์แห่งกฎหมายที่จะบัญญัติ ถ้าเป็นการออกหรือบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญ ย่อมมีความ
ยุ่งยาก และใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่ากฎหมายอื่น ๆ ที่ีมีศักดิ์ต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในลำดับชั้นสูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท หรือกฎหมาย
หลักของกฎหมายอื่น ๆ สำหรับการออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ย่อมมีความยุ่งยากน้อยลงไปตามลำดับชั้นของกฎหมาย